ผลการปฏิบัติงาน

 

ในรอบปีงบประมาณ 255๘ กองคลัง มีผลการปฏิบัติงานของทั้ง ๓ ฝ่าย ดังนี้
  

ฝ่ายการเงิน

 

ฝ่ายการเงิน เป็นหน่วยงานภายใต้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของฎีกาและใบสำคัญคู่จ่ายภายใต้ระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือสั่งการต่างๆ  รวมทั้งตรวจสอบเรื่องต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับระเบียบการเงิน การพัสดุ เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อทราบและสั่งการ การจ่ายเงินสวัสดิการต่างๆ ของข้าราชการในสังกัด การจัดทำฎีกาเงินเดือนค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เงิน กบท. การจัดทำฎีกาค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ รวมถึงงานสวัสดิการการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และสหกรณ์ออมทรัพย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ภารกิจ   

สนับสนุนการเบิกจ่ายเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ 255๘ ให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการเบิกจ่ายเงิน ของหน่วยงานภายในองค์กร

วัตถุประสงค์  

เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ถูกต้อง ตามระเบียบ มติ และหนังสือสั่งการ

  •           งานตรวจสอบฎีกาและใบสำคัญคู่จ่าย

การตรวจสอบฎีกาและใบสำคัญคู่จ่าย จากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินนอกงบประมาณ การเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี  การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ได้ทำการปฏิบัติงานตรวจสอบฎีกาเบิกจ่าย ภายใต้ระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือสั่งการต่างๆ เช่น

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติมฯ

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ

- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

- ค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นส.มท 0313.4/ว1347 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2541)   เป็นต้น

 

โดยมีการตรวจฎีกาของกองต่างๆ จำนวน ๑ สำนัก ๙ กอง ประกอบด้วย สำนักปลัด กองคลัง กองแผนและงบประมาณ กองช่าง กองกิจการสภา กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต กองการศึกษา และวัฒนธรรม กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองพัสดุและทรัพย์สิน และกองการเจ้าหน้าที่ รวมจำนวนทั้งสิ้น  6,๖๔๕  ฎีกา 

 

สรุปผลการดำเนินงาน

1. มีการควบคุมและตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ/เงินนอกงบประมาณ  ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ให้เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือสั่งการ ต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ที่แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อวันเสาร์ ที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555

2. มีหลักฐานรองรับการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

3. ผลการเบิกจ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์

 

ปัญหาและอุปสรรค

1. เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำฎีกาของแต่ละหน่วยงาน ภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ขาดความรู้ ความเข้าใจในระเบียบการเบิกจ่าย 

2. หน่วยงานผู้เบิก แนบเอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน ทำให้ระยะเวลาในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินนานขึ้น เนื่องจากต้องส่งฎีกากลับคืนหน่วยงานผู้เบิกแก้ไข

3. แต่ละกองที่ส่งฎีกามาเบิกจ่าย ที่กองคลัง ขาดการประสานงานที่ดี

 

  • งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้างค่าตอบแทนและเงินสวัสดิการอื่นๆ

- งานระบบเงินเดือน ข้าราชการ พนักงานจ้าง ทุกประเภท

- งานสวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน) 

- งานสวัสดิการ (ค่ารักษาพยาบาล)

- งานสวัสดิการ (ค่าเล่าเรียนบุตร)

 

  •           งานเบิกจ่าย การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ และการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ ให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ

การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการของข้าราชการบำนาญครู  ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และข้าราชถ่ายโอน         มีการเบิกจ่ายจากเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้รับบำนาญ      เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย   ประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวนเงินทั้งสิ้น 349,769   บาท

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีข้าราชการบำนาญจำนวน 40 ราย

1.)     ข้าราชการบำนาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จำนวน 17 ราย

2.)     ข้าราชการบำนาญ (ครู)                                    จำนวน 17 ราย

3.)     ข้าราชการบำนาญ (ถ่ายโอน)                              จำนวน   6 ราย

 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีลูกจ้างประจำ (ถ่ายโอน) บำเหน็จรายเดือนจำนวน 2 ราย

1.)     เบิกจ่ายจากข้อบัญญัติรายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เดือนละ 8,873.65 บาท

2.)     เบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ     จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย เดือนละ 21,156.35 บาท

 

รายละเอียดการขอโอนเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญ ประจำปี พ.ศ.2556

 

ตั้งงบประมาณรายจ่าย จำนวน (บาท)

ขอโอนเงินกองทุนฯ จำนวน (บาท)

รายละเอียด

6,850,000 บาท

3,217,300.72 บาท

ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีรายจ่ายเงินกองทุนบำเหน็จ บำนาญ ดังนี้

1. จ่ายเงินบำนาญให้แก่ข้าราชการส่วนจังหวัด ผู้รับบำนาญ ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ.2556 จำนวน 23 ราย เป็นเงิน 6,763,245.12 บาท

2. จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ผู้รับบำนาญ จำนวน 6 ราย เป็นเงิน 1,065,208.75 บาท

3. จ่ายเงินบำเหน็จปกติ ให้แก่นายธนาวัฒน์  จางวนิชเลิศ เป็นเงิน 400,350 บาท

4. จ่ายเงินบำเหน็จตกทอด  (เพิ่มเติม)  นายสุบิน รักทิม เป็นเงิน 55,560 บาท

5. จ่ายเงินบำเหน็จตกทอด (เพิ่มเติม) และเงินช่วยพิเศษ ให้แก่ ทายาทนางศรีวรรณคำ    หล้ากาวิน   และ นายอุทัย เมฆปรีดาวงค์  เป็นเงิน 662.85 บาท

6. จ่ายเงินบำเหน็จตกทอด ให้แก่   ทายาทนางพัทยา ฉัตร-บูรณะพาณิช เป็นเงิน 1,544,730 บาท

7. จ่ายเงินบำนาญปกติและบำเหน็จดำรงชีพ ให้แก่

นายขจร เสนีย์ เป็นเงิน 237,544 บาท

รวมเป็นเงินทั้งิสิ้น 10,067,300.72 บาท

 

 

  •           งานจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ตามระเบียบการทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ อปท. พ.ศ.2547 หมวด 4 ข้อ 38 กำหนดให้ อปท. แผนการใช้จ่ายเงิน

                   ข้อ 38  ก่อนการเบิกจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมให้หน่วยงานเบิกยื่นแผนการใช้จ่ายเงินต่อหน่วยงานคลังทุกสามเดือน

                   ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจปรับแผนการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานผู้เบิกได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับฐานะการคลังของ อปท.

                   ฝ่ายการเงิน กองคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทำการรวบรวมแผนการใช้จ่ายเงินประจำไตรมาสแต่ละไตรมาส ของแต่ละกอง  ตามระเบียบ ฯ กำหนดให้ก่อนการเบิกจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  ทุกสามเดือน เพื่อทำการเผยแพร่ข้อมูลแผนการใช้จ่ายเงินประจำไตรมาส งานประชาสัมพันธ์ของ อบจ.เชียงราย  และเผยแพร่ในเว็ปไซด์  อบจ.เชียงราย   พร้อมจัดส่งแผนการใช้จ่ายเงินแก่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ อบจ.เชียงราและเก็บรวบรวมเพื่อเป็นหลักฐานการปฏิบัติตามระเบียบ ฯ  ให้หน่วยตรวจสอบของจังหวัด  และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบ

                   สรุปแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อสิ้นแต่ละไตรมาส เพื่อเปรียบเทียบแผนการใช้จ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงินของ อบจ.เชียงราย ว่าเป็นไปตามแผนที่ได้จัดทำไว้หรือไม่ เพื่อที่ อบจ.เชียงรายจะได้ใช้เป็นแนวทางในการปรับแผนการใช้จ่ายของหน่วยงานผู้เบิกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับฐานะทางการคลังของ อบจ.เชียงราย

                   ปัญหาและอุปสรรค

                   การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน ฝ่ายการเงินกองคลัง อบจ.เชียงราย ได้รวบรวมแผนการใช้จ่ายเงินที่แต่ละกองรายงาน ซึ่งบางครั้งทำให้การรายงานล่าช้าเนื่องจากบางกอง รายงานแผนการใช้จ่ายเงินล่าช้า จึงทำให้การจัดทำรายงานแผนการใช้จ่ายเงินล่าช้า ในบางไตรมาส

                   การเบิกจ่ายเงิน  ไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ฝ่ายการเงินได้ทำการรวบรวมของแต่ละกองที่รายงาน เนื่องจาก

  1. 1.เงินรายได้ของ อบจ.เชียงรายที่ไม่เพียงพอ
  2. 2.มีการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผนงาน โครงการฯ
  3. 3.มีการตั้งข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ

 

  •           งานเกี่ยวกับการขอเปิด-ปิด รวมถึงขออนุมัติและเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิถอนเงินฝากธนาคาร

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งานการเงิน กองคลัง ได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิถอนเงินฝากธนาคาร   จำนวน  3 ครั้ง  และมีการขอเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 2 บัญชี ได้แก่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  ประเภทบัญชี ฝากประจำ 1 บัญชี และบัญชีฝากออมทรัพย์ 1 บัญชี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และบัญชี ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

 

  •           งานเบิกจ่ายเงินสวัสดิการข้าราชการถ่ายโอนฯ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งานการเงิน กองคลัง มีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย  ให้กับข้าราชการถ่ายโอน ฯ  3 ประเภท คือ

1.) เงินสวัสดิการ (ค่ารักษาพยาบาล)        จำนวน  109,669 บาท

2.) เงินสวัสดิการ (ค่าเล่าเรียนบุตร)          จำนวน    16,650 บาท

3.) เงินสวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน)               จำนวน    72,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น                       จำนวน  198,319 บาท

 

  •           งานหักภาษีเงินได้ และการนำส่งสำนักงานสรรพกร

งานการเงิน กองคลัง มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ที่ทำสัญญาจ้างกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน เงินบำนาญ ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เพื่อนำส่งสำนักงานสรรพากร 3 ประเภท คือ ภ.ง.ด.3 , ภ.ง.ด.53 และภ.ง.ด. 1  เป็นจำนวนเงิน ดังนี้

เดือน

ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.1

รวม

ตุลาคม 2555

47,650.87

195,519.21

73,857.20

317,027.28

พฤศจิกายน 2556

35,329.48

341,271.12

74,636.80

451,237.40

ธันวาคม 2555

99,028.58

551,717.16

73,943.90

724,689.64

มกราคม 2556

259,271.11

500,857.75

78,361.70

838,490.56

กุมภาพันธ์ 2556

121,307.25

479,799.97

76,364.30

677,471.52

มีนาคม 2556

40,471.48

454,255.64

77,459.00

572,186.12

เมษายน 2556

37,680.63

341,319.70

76,659.00

455,659.33

พฤษภาคม 2556

33,710.01

378,558.93

76,959.00

489,227.94

มิถุนายน 2556

34,727.11

145,872.63

76,799.00

257,398.74

กรกฎาคม 2556

16,011.59

210,322.38

74,694.00

301,027.97

สิงหาคม 2556

47,098.97

118,911.01

74,814.20

240,824.18

กันยายน 2556

63,645.13

207,397.72

74814.00

345,856.85

รวมทั้งสิ้น

835,932.21

3,925,803.22

909,362.10

5,671,097.53

 

  •           งานตรวจสอบและเร่งรัดเงินยืมคงค้าง

ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและแจ้งเตือนเงินยืมค้างชำระ ของทุกส่วนงานภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ  โดยที่ผู้ยืม ต้องส่งใช้ใบสำคัญและเงินที่เหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้

(1) กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักงานหรือกรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้ส่งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จ่ายเงินให้ยืม โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือธนาณัติแล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับเงิน

(2) กรณีเดินทางไปราชการอื่น ให้ส่งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ให้ยืมภายในสิบห้าวันนับจากวันกลับมาถึง

(3) การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจากตาม (1) หรือ (2) ให้ส่งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ให้ยืมภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับเงิน

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มีผู้ยืมเงินทดรองราชการ จำนวนทั้งสิ้น 253 ฎีกา คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  28,437,906.80 บาท  โดยส่งใช้เป็นใบสำคัญคู่จ่าย คิดเป็นจำนวนเงิน 22,057,927.03 บาท  และส่งคืนเป็นเงินสด ทั้งสิ้น 6,379,979.77 บาท  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

 

เดือน

จำนวนเงินยืม

ส่งคืนโดยใบสำคัญ

ส่งคืนโดยเงินสด

ตุลาคม 2555

126,620.00

125,740.00

880.00

พฤศจิกายน 2555

2,006,305.00

1,593,885.00

412,420.00

ธันวาคม 2555

4,222,820.00

3,983,960

238,860.00

มกราคม 2556

588,400.00

558,458.21

29,941.79

กุมภาพันธ์ 2556

677,550.00

660,815.00

16735.00

มีนาคม 2556

2,347,606.00

1,719,700.81

627,905.19

เมษายน 2556

1,070,780.00

1,018,560.00

52,220.00

พฤษภาคม 2556

2,337,702.80

1,792,536.20

545,166.60

มิถุนายน 2556

5,184,960.00

5,135,855.00

49,105.00

กรกฎาคม 2556

3,882,403.00

3,522,396.81

360,006.19

สิงหาคม 2556

2,537,152.00

2,333,642.00

203,510.00

กันยายน 2556

3,455,608.00

3,197,978.00

257,630.00

รวมทั้งสิ้น

28,437,906.80

22,057,927.03

6,379,979.77

 

  •           งานควบคุมภายในของฝ่ายการเงิน

งานควบคุมภายในของฝ่ายการเงิน  งวดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  (1  ตุลาคม  2555 – 30  กันยายน  2556)  ฝ่ายการเงิน  กองคลัง  ได้รายงานผลการประเมินและการปรับปรุงการควบคุมภายใน  กิจกรรมการตรวจฎีกาก่อนเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน  เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการรับเงิน  การเบิกจ่ายเงิน  การฝากเงิน  การเก็บรักษาเงิน  และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548)

  •           งานขอคืนค่าปรับผิดสัญญา

                   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  ไม่มีผู้ประกอบการขอคืนค่าปรับผิดสัญญาภายในปีงบประมาณ  อย่างไรก็ตามได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  25  พฤศจิกายน  2556  ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน  อันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ  300  บาท  ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการขอรับความช่วยเหลือมาแล้วประมาณ  8  สัญญา  และอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารทำความเห็นนำเสนอผู้บริหารพิจารณาให้ความช่วยเหลือ  และบางสัญญาอาจมีผลให้ต้องคืนค่าปรับซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้รับไว้เป็นเงินรายรับของปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  ไว้แล้ว

  •           งานระบบเงินเดือนข้าราชการ  พนักงานจ้างทุกประเภท

                   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  ได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น  73,393,216  บาท

ซึ่งเป็นงบประมาณที่เป็นงบบุคลากร  ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ

  • งานสวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน)

                   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  ได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น  1,546,671.32  บาท  ซึ่งเป็นงบประมาณที่เป็นงบดำเนินงาน  หมวดค่าตอบแทนประเภทค่าเช่าบ้าน

  •           งานโอนสิทธิเรียกร้อง

                    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  มีผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญากับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย  ได้ขอโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน  ทั้งสิ้น  15  สัญญา  ซึ่งได้ทำหนังสือแจ้งให้สรรพากรจังหวัดทุกสัญญาที่ได้รับการร้องขอ  และเบิกจ่ายเงินเมื่อถึงกำหนดให้แก่ผู้รับโอนสิทธิทุกครั้ง

  •           งานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาประจำปี

                   ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายการจ่ายเงินเดือน  ค่าจ้าง  และการหักภาษี ณ ที่จ่าย  ทั้งสิ้นในปีภาษี 2556  (1  มกราคม  2556 – 31  ธันวาคม  2556)  เพื่อออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย  ภ.ง.ด.1 ก  ให้กับผู้มีเงินได้ทุกรายใช้ประกอบการยื่นแบบและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภายในวันที่  31  มีนาคม  2557

  •           งานสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มีการปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำกัด เช่นการประชาสัมพันธ์ ข่าวสารเกี่ยวกับงานสหกรณ์ การส่งเงินกู้ เงินสวัสดิการ และเงินอื่นๆ ให้กับสมาชิก การส่งใบเสร็จเรียกเก็บเงินค่าหุ้น และเงินงวดชำระหนี้ การส่งเอกสารกู้เงิน และงานอื่นๆ โดยในการกู้เงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำกัด ในปัจจุบัน มีดังนี้

- เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน

- เงินกู้สามัญ

- เงินกู้หุ้น

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีเจ้าหน้าที่ที่ช่วยปฎิบัติงานของสหกรณ์ จำนวน 2 คน คือ 1. นางนัยนา  นุกูล  ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการกองคลัง และ 2. นายอดิศร  กาจินา ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี 5

  •           งานธุรการ

- ลงทะเบียนหนังสือรับ        จำนวน   4,150   ฉบับ

- ลงทะเบียนหนังสือส่ง         จำนวน   2,098   ฉบับ

- ลงเลขที่คลังรับในระบบ e-LASS และลงรายการในสมุดฎีกาคลังรับ      

จำนวน   6,831   ฎีกา

- ลงสมุดคุมฎีกาส่งใช้เงินยืม    จำนวน      163   ฎีกา

- จัดทำหนังสือรับรองเงินเดือน ข้าราชการ พนักงานจ้าง และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                                  จำนวน      231   ฉบับ

 

ภารกิจที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านการเงิน

วัตถุประสงค์   เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านการเงิน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญและลดปัญหาในการดำเนินการด้านการเงิน

กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

- พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

v ลดระยะเวลาในการทำงาน

v ลดความผิดพลาดในการทำงาน

v ลดกระบวนการทำงาน

v สร้างความพึงพอใจให้กับผู้มาติดต่อราชการ กับฝ่ายการเงิน

- ฝ่ายการเงิน กองคลัง ได้พัฒนาระบบงานด้านการเงินดังนี้

  1. การจ่ายเงินสวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน) ด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับสวัสดิการ

  2. มีการนำระบบ e-LASS มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และลดปัญหาในการดำเนินงาน

 

 

 

ภารกิจที่ 3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ของฝ่ายการเงิน

          วัตถุประสงค์  พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญงานเพื่อสร้างความสามัคคีและความร่วมมือในการปฏิบัติงาน                                                                                                                     

กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

- ส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นทั้งด้านวิชาการและด้านสังคม เพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้

v ฝึกอบรม

v ศึกษาต่อ

v เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน

- บุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมสัมมนา ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เพื่อนำความรู้ความสามารถมาใช้ปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับตนเองและองค์กร

- บุคลากรศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จำนวน 5  คน

 

 

 

 

ภารกิจที่ 4 สร้างความเข้มแข็งให้องค์กร โดยพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการเงิน

วัตถุประสงค์   เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่บุคลากร เพื่อนำความรู้มาสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร

กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบ หลักเกณฑ์

หนังสือสั่งการต่างๆ รวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง

- จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ในการปฎิบัติงานเกี่ยวกับระบบบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น e-LASS

- ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และสอนงาน เพื่อให้บุคลากรในสายงานเดียวกันทำงานทดแทนกันได้

- จัดอบรมโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ในการปฎิบัติงานเกี่ยวกับระบบบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น e-LASS ส่งผลให้บุคคลกรในสำนัก/กอง มีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติงานมากยิ่งขึ้น

 

 

ฝ่ายบัญชี

                   มีหน้าที่ควบคุมงบประมาณรายจ่ายทุกประเภท จัดทำบัญชีและรายงานการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และสถานีขนส่งแม่สาย จัดเก็บสถิติการคลังต่าง ๆ เพื่อประกอบการจัดทำงบประมาณ งานถอนคืนประกันสัญญา ประกันซอง งานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ งานรายรับ – รายจ่าย ในระบบ e-plan งานจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี งานจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งานควบคุมภายในกองคลัง งานตรวจรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งานรวบรวมสถิติทางการคลังต่าง ๆ เพื่อรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่ร้องขอ

ผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖

                    การจัดทำบัญชีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ณ วันที่ ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๖

     - รายได้               จำนวน           ๙๔๒,๑๙๐,๗๒๐.๒๑                 บาท

- รายจ่าย             จำนวน           ๙๒๕,๖๘๔,๔๗๖.๔๒                 บาท

- ทรัพย์สิน            จำนวน          ๑,๐๕๓,๘๕๐,๕๖๕.๖๗                บาท

- หนี้สิน               จำนวน           ๑๔๓,๕๒๗,๗๔๗.๓๙                 บาท

- เงินสะสม            จำนวน           ๒๒๔,๑๕๔,๔๑๔.๖๓                 บาท

 การจัดทำบัญชีสถานีชนส่งแม่สาย ณ วันที่  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๖

     -  รายได้              จำนวน           ๙๗๒,๘๒๖.๒๙                      บาท

     -  รายจ่าย            จำนวน           ๗๕๘,๙๑๓.๐๓                      บาท

     -  ทรัพย์สิน           จำนวน           ๓,๐๒๐,๕๑๕.๔๐                   บาท

     -  เงินสะสม           จำนวน           ๑,๐๑๙,๕๙๔.๙๑           บาท

 การคืนเงินประกันสัญญา จำนวน  ๑๗๓  ราย จำนวน  ๑๖,๑๕๔,๔๔๑       บาท

 การจัดส่งข้อมูลรายรับ – รายจ่ายประจำเดือนให้กระทรวงการคลัง และคลังจังหวัด

     เชียงราย และหน่วยงานต่าง ๆ ทางระบบอิเล็คทรอนิก (e-mail)

 รายงานการควบคุมภายใน

 การจัดทำรายงานรายรับ – รายจ่าย ในระบบ e- plan

 การจัดทำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์  (E-laas)

 การจัดเก็บข้อมูลสถิติการคลังต่าง ๆ เพื่อประกอบการจัดทำงบประมาณ และรายงาน

     หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่ร้องขอ

 

การควบคุมบริหารงบประมาณ

                    ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ มีการตั้งจ่ายงบประมาณ จำนวน ๗๖๐,๐๐๐,๐๐๐- บาท และสามารถเบิกจ่ายได้ ดังนี้

-          หมวดงบกลาง                            ๔๗,๑๘๓,๖๗๔.๑๔        บาท

-          หมวดเงินเดือน                           ๘๔,๗๕๙,๑๙๘.๐๐        บาท

-          หมวดค่าตอบแทน                        ๓๑,๗๓๓,๙๐๒.๒๒        บาท

-          หมวดค่าใช้สอย                           ๑๘๗,๙๒๙,๖๔๔.๒๗       บาท

-          หมวดค่าวัสดุ                               ๔๗,๑๔๗,๗๒๒.๙๐       บาท

-          หมวดค่าสาธารณูปโภค                     ๑๑,๔๔๑,๘๕๔.๔๖       บาท

-          หมวดเงินอุดหนุน                        ๓๓,๓๒๗,๑๐๔.๐๐        บาท

-          หมวดค่าครุภัณฑ์                         ๔๓,๙๘๓,๑๑๙,๙๕        บาท

-          หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง            ๒๒๒,๕๑๓,๑๖๖.๔๐        บาท

-          หมวดรายจ่ายอื่น                                ๓๐,๐๐๐.๐๐       บาท

รวมรายจ่ายทั้งสิ้น                 ๗๑๐,๐๔๙,๓๘๖.๓๔     บาท      

คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณร้อยละ   ๙๓.๔๓

สามารถประหยัดงบประมาณได้ร้อยละ           ๖.๕๗       

              ปัญหาและอุปสรรค

                    ๑. เครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนไม่พอใช้

                   ๒. ข้าราชการและพนักงานจ้างมีอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

 

 

 

ฝ่ายเร่งรัดและจัดเก็บรายได้

 

          มีหน้าที่ปฏิบัติงานการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย  ดังนี้ ค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้เข้าพักโรงแรม,ค่าภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียม และภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าปลีกยาสูบ ตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักโรงแรม พ.ศ.๒๕๔๒ และข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เรื่องการเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

          ๑ การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินภาษีและค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บรายได้โดยรวม เพิ่มขึ้น ๑๙.๗๔%

          ๒. การเพิ่มขึ้นของจำนวนรายผู้ชำระค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้ค้าปลีกน้ำมันที่มีอยู่ในเขตจังหวัด  เพิ่มขึ้น ๑๐.๖๒%

          ๓. การเพิ่มขึ้นของจำนวนรายผู้ชำระค่าภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้ค้าปลีกยาสูบที่มีอยู่ในเขตจังหวัด  ไม่มีจำนวนรายเพิ่มขึ้น

          ๔. การเพิ่มขึ้นของจำนวนรายผู้ชำระค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้เข้าพักในโรงแรมที่มีอยู่ในเขตจังหวัด  เพิ่มขึ้น ๔.๐๓%

          ๕. สัดส่วนจำนวนรายผู้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บรายได้ต่อจำนวนผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีและค่าธรรมเนียม ปี๒๕๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๓๔%

          ๖. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินที่เก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ย้อนหลัง ๓ ปี)

-  ภาษีน้ำมัน ปี พ.ศ.๒๕๕๖  เพิ่มขึ้น ๒๙.๖๐%

-  ภาษียาสูบ  ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เพิ่มขึ้น ๑๗.๓๗%

-  ค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักโรงแรม ปีพ.ศ.๒๕๕๖ เพิ่มขึ้น ๓๒.๓๒ %

          ๗. ความสำเร็จของอัตราการจัดเก็บ

- รายได้ทั้งหมด ปี พ.ศ.๒๕๕๖  คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๖๐%

- รายได้จัดเก็บเอง ปี พ.ศ. ๒๕๕๖  คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๐๒%

          ๘. อัตราการจัดเก็บรายได้ประมาณการรายรับปี พ.ศ.๒๕๕๖ และรายได้จัดเก็บเอง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ จัดเก็บได้น้อยกว่าประมาณการที่ตั้งไว้  - ๒.๙๘%

          ปัญหาและอุปสรรค

๑.ขาดความร่วมมือในการยื่นแบบภาษีทางอินเตอร์เน็ต

๒.ขาดความเข้าใจในการใช้บริการยื่นแบบภาษีทางอินเตอร์เน็ต

๓.อบจ.ไม่มีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมาชำระภาษี

๔.ผู้ประกอบการค้าน้ำมันบางรายไม่ยอมจดทะเบียนแต่ยังค้าปลีกอยู่

๕.ผู้ประกอบการโรงแรมบางรายไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมแต่เปิดให้บริการอยู่